ReadyPlanet.com
ปั๊มคอนกรีต คือ
รถปั๊มคอนกรีตมือสอง, อุปกรณ์ก่อสร้างมือสอง, เครื่องจักรเก่า
รถปั๊มคอนกรีต รับชำระ บัตรเครดิตวีซ่า และมาสเตอร์การ์ด


+30
°
C
+31°
+24°
กรุงเทพมหานคร
, 19
+31° +24°
+31° +26°
+32° +25°
+31° +26°
+31° +25°
+30° +26°
ดูพยากรณ์ใน 7 วัน


คอนกรีตสำหรับงานปั๊มคอนกรีต

ส่วนผสมของคอนกรีตเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการลำเลียงคอนกรีตโดยใช้ปั๊มคอนกรีต เราจะมาพิจารณาส่วนผสมของคอนกรีตที่เหมาะสมสำหรับงานปั๊มคอนกรีต

ส่วนผสมของคอนกรีตแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ หิน, ทราย, ซีเมนต์,และส่วนที่เป็นของเหลวคือ น้ำ ซึ่งในส่วนผสมที่กล่าวนี้ น้ำเป็นส่วนผสมเดียวที่สามารถปั๊มได้ แต่เมื่อนำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมเป็นคอนกรีต เนื้อคอนกรีตจะสามารถปั๊มได้เมื่อส่วนผสมถูกนำมาผสมกัน ด้วยอัตราส่วนที่พอเหมาะ โดยที่น้ำเป็นตัวส่งผ่านแรงดันไปยังส่วนผสมอื่น ๆ

คุณสมบัติของคอนกรีตที่จะสามารถปั๊มได้

  1. ต้องมีความเหลวที่เหมาะสม
    คอนกรีตที่เหมาะสมสำหรับนำไปปั๊ม ควรจะมีค่ายุบตัวอยู่ระหว่าง 7.5-12.5 ซม. ถ้าค่า ยุบตัวน้อยเกินไปคอนกรีตจะปั๊มยาก และต้องใช้แรงดันสูงมาก ซึ่งจะเกิดผลเสียคือท่อสึกหรอเร็ว และปั๊มเสียได้ง่าย ถ้าค่ายุบตัวมากเกินไป คอนกรีตมีแนวโน้มที่จะเกิดการแยกตัว
  2. ต้องมีปริมาณส่วนละเอียดเพียงพอ
    ส่วนละเอียดในที่นี้หมายถึง ทรายและปูนซีเมนต์ จะต้องมีมากพอที่จะไปอุดช่องว่าง ระหว่างหิน เพื่อให้เนื้อคอนกรีตมีแรงต้านภายในพอที่จะไม่ก่อให้เกิดการแยกตัว

ส่วนผสมคอนกรีตที่ทำให้ปั๊มได้ง่าย

           ในการออกแบบส่วนผสมของคอนกรีตทั่ว ๆ ไป  เราจะพิจารณาเพียงให้ได้ค่ากำลังอัด ค่ายุบตัวตามต้องการ และสามารถทำงานได้เท่านั้น แต่การออกแบบส่วนผสมคอนกรีตในงานปั๊มคอนกรีตนั้น ต้องแบบให้สามารถเคลื่อนที่ผ่านท่อส่งคอนกรีตได้ง่าย โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญที่จะต้องพิจารณาถึงดังนี้

  1. หินและทราย จะต้องมีส่วนคละที่ดี ถูกต้องตามมาตราฐาน ASTM C 33
  2. ค่ายุบตัวควรอยู่ระหว่าง 7.5 - 12.5 เซนติเมตร
  3. ควรมีส่วนละเอียด ซึ่งได้แก่ปูนซีเมนต์ และทรายเพียงพอที่จะอุดช่องว่าง โดยปริมาณปูนซีเมนต์ ต้องไม่น้อยกว่า 300 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
  4. ควรมีทรายที่ผ่านตะแกรงมาตราฐาน # 50    10 - 30 %
  5. ขนาดโตสุดของหินไม่ควรเกิน 1 / 5 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อ
  6. ต้องใช้มอร์ต้าอัตราส่วน ซีเมนต์ : ทราย  =  1 : 2  แล้วปั้ม เพื่อไปเคลือบท่อก่อนการปั้มคอนกรีตทุกครั้ง
  7. ต้องใส่น้ำยาผสมคอนกรีตประเภทยืดเวลาการแข็งตัวทุกครั้งที่ใช้ปั้มคอนกรีต

น้ำยาผสมคอนกรีตสำหรับงานปั๊มคอนกรีต

            น้ำยาผสมคอนกรีตใช้สำหรับงานปั๊มคอนกรีตนี้จะแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย น้ำยาผสมคอนกรีตที่เหมาะสมสำหรับงานปั๊มคอนกรีตคือ น้ำยาประเภทลดน้ำและยืดเวลาการแข็งตัว ซึ่งน้ำยาประเภทนี้มีประโยชน์คือ

  1. ยืดเวลาการแข็งตัวของคอนกรีต ทำให้สามารถทำงานได้นานกว่าคอนกรีตที่ไม่ได้ใส่น้ำยา และในกรณีที่มีปัญหา ก็มีเวลาแก้ไขก่อนที่คอนกรีตจะแข็งตัวในปั๊มหรือท่อส่งคอนกรีต
  2. ทำให้คอนกรีตลื่น สามารถเคลื่อนที่ในท่อส่งคอนกรีตได้สะดวก
  3. ทำให้คอนกรีตเหลวอยู่เป็นเวลานาน สะดวกในการปั๊ม

            นอกจากน้ำยาประเภทลดน้ำ และยืดเวลาการแข็งตัวแล้ว ยังมีน้ำยาที่ช่วยให้ปั๊มคอนกรีตได้ง่าย (PUMPING AIDS) น้ำยาประเภทนี้เมื่อใส่ไปในคอนกรีตจะทำให้คอนกรีตลื่นไหลไปในท่อส่งคอนกรีตได้สะดวก ทำให้ปั๊มคอนกรีตได้ง่าย ถึงแม้ว่าคอนกรีตที่ใช้จะมีปริมาณปูนซีเมนต์ไม่มากนัก แต่น้ำยาประเภทนี้ยังไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันเพราะราคาแพง

 

ข้อมูลจาก ศูนย์วิชาการคอนกรีตซีแพค




เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ปั๊มคอนกรีต

ข้อควรปฎิบัติของผู้เกี่ยวข้องกับงานปั๊มคอนกรีต
เมื่อไรควรใช้ ปั๊มคอนกรีต
เปรียบเทียบการใช้ปั๊มคอนกรีตกับการใช้ลิฟท์
เปรียบเทียบการใช้ปั๊มคอนกรีตกับการใช้ทาวเวอร์เครน
เปรียบเทียบการใช้ปั๊มคอนกรีตกับการใช้คนงาน
รถปั๊มคอนกรีต คืออะไร
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ปั๊มคอนกรีต
ประเภทของปั๊มคอนกรีต
ปั๊มคอนกรีตในประเทศไทย